ข้อมูลตำบลพระแท่น

ข้อมูลตำบลพระแท่น

อำเภอท่ามะกา  จังหวัดกาญจนบุรี

Øประวัติความเป็นมา
          ตำบลพระแท่นเป็นหนึ่งในสิบหกตำบลของอำเภอท่ามะกา  เดิมเรียกว่าพระแท่นดงรัง  สืบเนื่องจากมีหลักฐานแท่นศิลารอยพระพุทธบาท  มีต้นรัง 2 ต้น  โอบรอบแท่นพระพุทธบาท  ชาวบ้านละแวกนั้นจึงได้มีการตั้งชื่อหมู่บ้าน และชื่อวัด (ปัจจุบัน หมู่ที่ 10 ว่า  “พระแท่นดงรัง”  ต่อมามีการจัดตั้งชื่อตำบลอย่างเป็นทางการว่า “ตำบลพระแท่น แต่ชื่อวัดยังใช้คำว่า พระแท่นดงรัง
Øสภาพทั่วไปของตำบล
          ลักษณะโดยทั่วไปเป็นที่ราบ  ดินมีความสมบูรณ์เหมาะสำหรับทำการเกษตร  พืชหลักที่สำคัญ  คือ  อ้อย  ข้าวโพดและมีการตั้งหมูบ้านเกาะกลุ่มกระจายตามเส้นทางคมนาคม
Øอาณาเขตติดต่อ

          ทิศเหนือ                   ติดต่อ             ต.อุโลกสี่หมื่น อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี

          ทิศตะวันออก               ติดต่อ             ต.หนองลาน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี
          ทิศใต้                       ติดต่อ             ต.ดอนชะเอม อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี
          ทิศตะวันตก                ติดต่อ             .ตะคร้ำเอน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี
Øด้านทิศเหนือ
          ตั้งแต่หลักเขตที่ 1  ซึ่งตั้งอยู่ตรงเส้นแนวเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าพระแท่นดงรัง  ตรงจุดที่อยู่ในแนวเส้นตั้งฉากกับศูนย์กลางถนนชลประทานสายกำแพงแสน-พนมทวน  ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้  ตรงจุดที่อยู่ห่างจากศูนย์กลางที่ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3081  ท่าเรือ-พระแท่นดงรัง  บรรจบกับถนนชลประทานสายกำแพงแสน-พนมทวน  ตามถนนชลประทานกำแพงแสน-พนมทวน  ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ  ระยะ  400  เมตร
          จากหลักเขตที่ 1  เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  ผ่านถนนชลประทานสายกำแพงแสน-พนมทวน  ถึงหลักเขตที่ 2  ซึ่งตั้งอยู่ที่ริมถนนชลประทานสายกำแพงแสน-พนมทวน  ฟากเหนือ  ตรงจุดที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางที่ทางหลวงจังหวัดหมายเลข  3081  ท่าเรือ-พระแท่นดงรัง  บรรจบกับถนนชลประทานสายกำแพงแสน-พนมทวน  ตามแนวถนนชลประทานสายกำแพงแสน-พนมทวน  ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ  ระยะ  400  เมตร
          จากหลักเขตที่  2  เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  ผ่านทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3356  แยกทางหลวงหมายเลข  321  (ทุ่งคอก)-พระแท่นดงรัง  ฟากตะวันออก  ตรงจุดที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางที่ทางหลวงจังหวัดหมายเลข  3356  แยกทางหลวงหมายเลข  321  (ทุ่งคอก)-พระแท่นดงรัง  บรรจบกับถนนชลประทานสายกำแพงแสน-พนมทวน  ตามแนวทางหลวงจังหวัดหมายเลข  3356  แยกทางหลวงหมายเลข  321  (ทุ่งคอก)-พระแท่นดงรัง  ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  ระยะ  1,000  เมตร
จากหลักเขตที่ 3  เป็นเส้นตั้งฉากกับศูนย์กลางทางหลวงจังหวัดหมายเลข  3356  แยกทางหลวง หมายเลข  321  (ทุ่งคอก)  -พระแท่นดงรัง  ไปทางทิศตะวันออก  ถึงหลักเขตที่  4  ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางทางจังหวัดหมายเลข  3356  แยกทางหลวงหมายเลข  321  (ทุ่งคอก) – พระแท่นดงรัง  ตามแนวเส้นตั้งฉาก  ไปทางทิศตะวันออก  ระยะ  300  เมตร
Øด้านทิศตะวันออก
          จากหลักเขตที่ 4  เป็นเส้นขนานกับศูนย์กลางทางหลวงจังหวัดหมายเลข  3356  แยกทางหลวง หมายเลข  321 (ทุ่งคอก) พระแท่นดงรัง ระยะ  300 เมตร  ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้  ถึงหลักเขตที่ 5 ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนชลประทานสายกำแพงแสน-พนมทวน  ฟากเหนือ
          จากหลักเขตที่  5 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้  ถึงหลักเขตที่  6  ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนไปวัดหมอสอวังคา  ฟากเหนือ  ตรงจุดที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางที่ถนนไปวัดหมอสอวังคาบรรจบกับถนน ไปบ้านไร่ตามแนวถนนไปวัดหมอสอวังคา  ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้  ระยะ  800  เมตร
Øด้านทิศใต้
          จากหลักเขตที่  6  เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือผ่านทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3081  ท่าเรือ-พระแท่นดงรัง  ฟากทิศตะวันตก  ตรงจุดที่ริมทางหลวงจังหวัดหมายเลข  3081  ท่าเรือ-พระแท่นดงรัง  ฟากตะวันตกบรรจบกับริมถนนไปวัดรางกระต่าย  ฟากใต้ จากหลักเขตที่  7  เป็นเส้นเลียบถนนไปวัดรางกระต่าย  ฟากใต้  ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
ถึงหลักเขตที่  8 ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนไปวัดรางกระต่าย  ฟากใต้  ตรงจุดที่อยู่ห่างจากศูนย์กลางทางหลวงจังหวัดหมายเลข  3081  ท่าเรือ-พระแท่นดงรัง  ตามแนวเส้นตั้งฉาก  ระยะ  300 เมตร
Øด้านทิศตะวันตก
          จากหลักเขตที่ 8  เป็นเส้นทางขนานกับศูนย์กลางทางหลวงจังหวัด  หมายเลข 2081  ท่าเรือ-พระแท่นดงรัง  ระยะ  300  เมตร  ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  ถึงหลักเขตที่ 9  ซึ่งตั้งอยู่ตรงเส้นแนวเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าพระแท่นดงรัง
          จากหลักเขตที่ 9  เป็นเส้นเลียบเส้นแนวเขตป่าพระแท่นดงรัง  ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้  และทิศเหนือ  ผ่านทางหลวงจังหวัดหมายเลข  3081  ท่าเรือ-พระแท่นดงรัง  บรรจบกับหลักเขตที่  1
Øสภาพภูมิอากาศ                          
          ฤดูร้อน            ช่วงระยะเวลาตั้งแต่  เดือนมีนาคม  ถึงเดือนเมษายน
                             อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย  36.88  องศาเซลเซียส
          ฤดูฝน             ช่วงระยะตั้งแต่  เดือนพฤษภาคม  ถึงเดือนตุลาคม
ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย  89.12  มิลลิเมตร                                       
ฤดูหนาว          ช่วงระยะเวลาตั้งแต่  เดือนพฤศจิกายน  ถึงเดือนกุมภาพันธ์
                   อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย  20.74  องศาเซลเซียส
Øประชากร
รวมทั้งสิ้น                                จำนวน  9,256  คน
ประกอบด้วย          เพศชาย           จำนวน  4,479  คน
                        เพศหญิง          จำนวน  4,777  คน
Øการปกครอง

                   แบ่งการปกครองออกเป็น  16  หมู่บ้าน  คือ

                   หมู่ที่  1           บ้านสำนักเย็น             หมู่ที่  2           บ้านไร่
                   หมู่ที่  3           บ้านไร่                     หมู่ที่  4           บ้านไร่
                   หมู่ที่  5           บ้านท่าโป่ง                 หมู่ที่  6           บ้านดอนรัก
                   หมู่ที่  7           บ้านกระโดนโพรง         หมู่ที่  8           บ้านหมอสอ     
                   หมู่ที่  9           บ้านดอนนางนูน           หมู่ที่  10        บ้านพระแท่น
                   หมู่ที่  11        บ้านหนองงู                หมู่ที่  12        บ้านกระโดนโพรงใต้
                   หมู่ที่  13        บ้านโป่งพระแท่น                    หมู่ที่  14        บ้านดอนแจง
                   หมู่ที่  15        บ้านดอนสามหลัง          หมู่ที่  16        บ้านดงรัก
Øข้อมูลอาชีพของตำบล

อาชีพหลัก        ทำนา  ทำสวน  ทำไร่

อาชีพเสริม       ค้าขาย
Øข้อมูลสถานที่สำคัญของตำบล
1. วัดพระแท่นดงรังวรวิหาร
2. เตาเผาโบราณบ้านหมอสอ
3. อบต. พระแท่น
4. สถานีตำรวจภูธร ต.พระแท่น
5. โรงเรียนวัดพระแท่นดงรัง
6. โรงเรียนมัธยมพระแท่น
7. เทศบาลตำบลพระแท่น
8. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลพระแท่น
Øโครงสร้างพื้นฐาน
การคมนาคม  ตำบลพระแท่น  มีเส้นทางคมนาคมที่สำคัญ  คือ
-ทางหลวงแผ่นดิน  ถนนแสงชูโต  หมายเลข  323  จากอำเภอบ้านโป่ง  จังหวัดราชบุรี-อำเภอท่า        มะกา  ไปจังหวัดกาญจนบุรี      
-ทางหลวงแผ่นดิน  หมายเลข  346  ถนนสายกำแพงแสน-พนมทวน
-ทางหลวงจังหวัด  หมายเลข  3181  ถนนสายท่าเรือ-พระแท่น
Øการไฟฟ้า
          การให้บริหารด้านไฟฟ้าและไฟฟ้าแสงสว่างภายในเขตตำบลพระแท่น  ดำเนินการโดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคตำบลท่าเรือ  อำเภอท่ามะกา  จังหวัดกาญจนบุรี  นอกจากนี้ตามถนนและซอยต่าง ๆ ภายในเขตเทศบาลได้จัดให้มีไฟฟ้าสาธารณะเพื่อประชาชนที่สัญจรไปมาได้สะดวก
Øการประปา
- การให้บริการด้านการประปา  เป็นการดำเนินการโดยการประปาตำบลพระแท่น  มีกำลังผลิต  น้ำประปา  51  ลบ../ชมจำนวน  2  แท็งค์น้ำ  โดยใช้แหล่งน้ำจากใต้ดินในการผลิตประปา
- น้ำเพื่อการเกษตร  ประชาชนในพื้นที่เทศบาลใช้ประโยชน์จากสระส่วนตัว  สระสาธารณะ
          และคลองท่าสาร-บางปลา  ซึ่งเป็นคลองชลประทาน  1  แห่ง  โดยครัวเรือนใช้ประโยชน์จากแหล่ง        น้ำข้างต้นในการเกษตร  และอื่น ๆ
Øการสื่อสารและโทรคมนาคม
          -การให้บริการไปรษณีย์โทรเลข  เป็นที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขเอกชน  จำนวน  1  แห่ง
          -การให้บริหารด้านโทรศัพท์  จำนวนครัวเรือนที่มีโทรศัพท์  ประมาณ  781  ครัวเรือน
            โทรศัพท์สาธารณะ ประมาณ  51  เครื่อง
Øด้านเศรษฐกิจ
โครงสร้างเศรษฐกิจ/รายได้ประชากร
          -การประกอบอาชีพ  ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  เช่น  การปลูกข้าว  อ้อย พริก  ข้าวโพด การเลี้ยงสัตว์  เช่น โค สุกร เป็ด ไก่ และการประกอบอาชีพอื่น ๆ เช่น ค้าขาย รับจ้าง รับราชการ  ฯลฯ
          -รายได้ประชากรเฉลี่ยคน/ปี  จำนวน  29,111  บาท
Øการอุตสาหกรรม/พาณิชย์/ปารบริการ  ประกอบด้วย
          - โรงงานอุตสาหกรรม     จำนวน           3        แห่ง    
          - สถานีบริการน้ำมัน      จำนวน           4        แห่ง
          - ตลาดสด                 จำนวน           2        แห่ง
          - ร้านค้าทั่วไป  เช่น  ร้านค้าของชำ  ร้านอาหาร  ร้านเครื่องดื่ม  ร้านบริการเสริมสวย  อู่ซ่อมรถ
ร้านอุปกรณ์ไฟฟ้า ฯลฯ  ประมาณ  194  แห่ง
Øสถานที่ท่องเที่ยว 
สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ คือ  วัดพระแท่นดงรังวรวิหาร  ซึ่งเป็นโบราณสถานที่สำคัญ ,วัดหมอสอ เป็นต้น
Øศาสนา/ประเพณี/ศิลปวัฒนธรรม
-                                 การนับถือศาสนา  ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ  และนับถือศาสนาอื่น ๆ เช่น
          ศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์
-                งานประเพณี    ของท้องถิ่นที่สำคัญ  คือ
งานมนัสการพระแท่นดงรัง  จัดขึ้นในช่วง ขึ้น  8 ค่ำ เดือน 4 ของทุกปี
งานประเพณีสงกรานต์  เดือนเมษายน
งานประเพณีแห่เทียนพรรษา  เดือนกรกฎาคม
งานตักบาตรเทโว  เดือนตุลาคม
งานประเพณีลอยกระทง  เดือนพฤศจิกายน
-     วัฒนธรรม ท้องถิ่นที่สำคัญ คือ
วัฒนธรรมไทยทรงดำ หรือลาวโซ่ง
Øการศึกษา 
          การให้บริการการศึกษา  มีสถาบันการศึกษาในเขตตำบลพระแท่น  จำนวน  6  แห่ง
          -ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กพีระยา-นาริน
          -ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลพระแท่น
          -โรงเรียนบ้านดอนรัก  โรงเรียนบ้านไร่ร่วมวิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัด   กาญจนบุรี
          -โรงเรียนวัดพระแท่นดงรัง  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี
          -โรงเรียนพระแท่นดงรังวิทยาคาร  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี
          -กศน.ตำบลพระแท่น

Øการสาธารณสุข

          -โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพระแท่น           จำนวน           1        แห่ง
          -สถานพยาบาลเอกชน                                 จำนวน           2        แห่ง
          -ร้านขายยาแผนปัจจุบัน                               จำนวน           2        แห่ง

Øกีฬา/นันทนาการ

          มีการส่งเสริมสนับสนุนเกี่ยวกับการกีฬาและนันทนาการ  โดยส่งเสริมสนับสนุนแก่ประชาชนทั่วไป  และส่งเสริมสนับสนุนกีฬาแก่โรงเรียน  ซึ่งมีลานกีฬาเอนกประสงค์หน้าสำนักงานเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลพระแท่น  สนามฟุตบอล  สนามเปตอง  และสนามกีฬาประจำหมู่บ้าน

Øการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

          ในรอบปีที่ผ่านมาการเกิดเหตุเพลิงไหม้ส่วนใหญ่เป็นเหตุเพลิงไหม้ทุ่งหญ้า  หรือไร่อ้อยใน
ฤดูแล้งโดยมิได้ทำความเสียหายให้แก่ทรัพย์สินของประชาชนแต่อย่างใด  ซึ่งเทศบาลมีเครื่องมือ
เครื่องใช้อุปกรณ์ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  ได้แก่
          - รถยนต์ดับเพลิง                    จำนวน           1        คัน
          - รถยนต์บรรทุกน้ำ                 จำนวน           1        คัน
          - รถตรวจการณ์                     จำนวน           1        คัน
          - เครื่องสูบน้ำ                       จำนวน           1        เครื่อง
          - เครื่องดับเพลิงชนิดหาบหาม      จำนวน           1        เครื่อง
          - ถังเคมีดับเพลิง                     จำนวน           218    ถัง
Øความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
          การให้บริการเกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน  ในเขตตำบลพระแท่น  จะมีงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  ตำรวจชุมชนพระแท่น  ซึ่งขึ้นอยู่กับ  สภ..ท่าเรือ  อำเภอท่ามะกา  จังหวัดกาญจนบุรี  คอยดูแลและให้ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

Øด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

          พื้นที่ป่าไม้ในเขตวัดพระแท่นดงรังวรวิหาร  มีพื้นที่  1,344  ไร่  เป็นป่าไม้เบญจพรรณประกอบด้วยไม้ประเภท  ไม้รัง  ไม้แดง ฯลฯ  โดยกรมป่าไม้ได้ตั้งเป็นวนอุทยานพระแท่นดงรัง  ซึ่งเป็นวนอุทยานพระแท่นดงรัง  ซึ่งเป็นป่าสงวนแห่งชาติ
Øประวัติหมู่บ้านในตำบลพระแท่น

Eหมู่ที่  1  บ้านสำนักเย็น

          สำนักเย็นนี่เขาจะเป็นหมู่บ้านที่พักวัว  คนไล่วัว  มาเลี้ยง  ก็จะไปพัก  เพราะตอนนั้นสำนักเย็น
มันเป็นที่ดอน  วัวจะไม่ชอบไปที่ลุ่มถ้าเวลาฝนตกน้ำมันจะจมไปครึ่งครึ่งขา  มันต้องไปหาที่โคกอยู่  สำนักเย็นนี่เป็นที่อยู่ของวัว  พักวัว  เขาจะเลี้ยงวัวมาเยอะ ๆ  ต้องมาหาที่พัก  เรียก สำนักเย็น

Eหมู่ที่ 2,3,4 บ้านไร่

          บ้านไร่เมื่อก่อนนี้เป็นที่ดอน  และชาวบ้านเขาทำไร่กัน  คือ  ชาวบ้านทำไร่กันเยอะ  ก็เรียกว่า  บ้านไร่  เพราะตรงนี้เป็นหมู่บ้านใหญ่  มีการทำไร่ทุกชนิด  แต่ไม่ได้ทำนา  เพราะว่าเป็นที่สูง
Eหมู่ที่ 5 บ้านท่าโป่ง
          ท่าโป่ง  เมื่อก่อนนี้เป็นที่ท่าเรือ  มีเรือมาจอด  คือมันจะมีคลองผ่าน คลองเล็ก ๆ ผ่านมาตรงบ้านท่าโป่ง  และเรือก็มาจอด  จอดเพื่อจะขึ้นมาพระแท่น  เพราะสมัยก่อนมันจะต้องลงเรือบ้าง ขึ้นเกวียนบ้างตรงท่าโป่งนี้  มีคลองเล็ก ๆ มาก เขาเรียกเป็นท่า ท่าเรือเล็ก ๆ ก็เรียกเป็น ท่าโป่งเรียกตามพื้นที่

Eหมู่ที่  6  บ้านดอนรัก

          ดอนรักที่อยู่หน้าโรงเรียน  สมัยก่อนมันดงรัก  ซึ่งไม่ได้เป็นที่ของใคร  เป็นป่าดงรักเหตุที่ตั้งชื่อว่าดอนรัก มาจากว่า สัญลักษณ์  ต้นรัก  ดอนรักคือว่าต้นรักเยอะ ๆ ไม่ใช่น้อย ๆ

Eหมู่ที่  7  บ้านกระดอนโพรง

          กระดอนโพรงมันเป็นต้นไม้  เป็นชื่อต้นไม้  ต้นไม้ใหญ่มีโพรง  เขาเรียกว่ากระดอนโพรง  เพราะว่าต้นไม้มีโพรง

Eหมู่ที่  8  บ้านหมอสอ

          เมื่อก่อนนี้  ลำน้ำหมอสอเป็นลำน้ำศักดิ์สิทธิ์เนื่องมาจากบรรดาหมอจะไปรักษาพระพุทธเจ้า ณ พระแท่น  พายเรือไปคาอยู่ที่วังคา  เขาถึงเรียกวังคา  เรือเจ้าพระยาก็ไปคาต้นไม้อยู่  พระยาก็เลยพายเสียเอง  ก็เรียกอีกว่าลำพระยาพาย  ทำให้ไปไม่ทันพระพุทธเจ้าปรินิพานก่อน  หมอทั้งหลาย  ออกันอยู่บริเวณนั้น  เต็มไปหมด  เศร้าสลดใจ  ชาวบ้านบางคนได้ขอเครื่องยา  บางคนก็เอาเครื่องยาฝังดินและบางคนได้เทเครื่องยาทิ้งลงในลำน้ำ  ทำให้ลำน้ำแหล่งนี้เป็นลำน้ำศักดิ์สิทธิ์  เมื่อเขาเรียกกันว่าหมอซอเรียกไปเรียกมาเป็นหมอสอ

Eหมู่ที่  9  บ้านดอนนางนูน

          นางนูน  ก็คือ  ต้นอีนูน  ดงอีนูน  ลูกดองกินได้  ดงอีนูนต้นใหญ่  คือว่า  เหมือนสัญลักษณ์ หมู่บ้านเขา เขาก็เลยตั้งชื่อว่าดอนนางนูน  สมัยก่อนมีบ้านสัก  10  หลังครัวเรือน  มันเป็นป่า  เวลาทำนาเขาก็แหวกกันทำเขาถึงเรียก  ดอนนางนูน

Eหมู่  11  บ้านหนองงู

          สมัยก่อนนี้ที่นี่มีหนองน้ำหนึ่ง  แล้วตรงนี้ก็มีงูเยอะ  คนแก่เล่ามาว่ามันเป็นหนองใหญ่ทีเดียว
ถ้าใครผ่านไปต้องเจองู  เขาก็เลยเรียกว่า  หนองงู

Eหมู่ที่  13  บ้านโป่งพระแท่น

          บ้านโป่งนี่  มันจะเป็นดิน  ดินมันโป่ง  มันอยู่ชายน้ำ  มีน้ำแล้วก็มีโป่ง  ดินมันให้สัตว์กินสัตว์มากินดิน มันจะออกเค็ม เลยเรียก บ้านโป่ง”  เพราะว่าเมื่อก่อนมันเป็นป่าหมด  ดินเวลานั้นจะเค็ม  สัตว์ชอบมากิน

Eหมู่ที่  14  บ้านดอนแจง

          บ้านดอนแจง  แยกมาจากบ้านหมอสอ  หมู่ ๘  ในปัจจุบัน  เมื่อครั้งโบราณมาที่นั่นเป็นที่ดอน แล้วในหมู่บ้านข้างเคียงมีน้ำ  น้ำจะท่วมก่อน  แล้วที่ตรงนั้นมันจะเป็นที่ดอนกว่า  น้ำอาจจะท่วมช้า เขาถึงได้เรียกว่า ดอน”  แล้วไอ้คำว่าแจง  มีอาจจะเป็นประวัติก็คงจะสมัยนั้นมีต้นแจงเยอะ  เขาก็เลยเรียกควบคู่กันว่า ดอนแจง

Eหมู่ที่  15  บ้านดอนสามหลัง

          ดอนสามหลังไม่มี  มีแต่สามหลังเฉย ๆ  สามหลังนี่เป็นบ้านคนมาอยู่กันสามหลัง ใหม่มีคนมาอยู่กัน  3  บ้าน  เพราะสมัยก่อนมันจะมีสามหลังเรียกแปดหลังเรียกหกหลังเรียกนี่เพราะว่ามีคนอยู่  คนที่มาอยู่นี่มาจากที่อื่น  แต่จะเป็นคนที่มีอิทธิพลพอสมควร  หมายความว่า  คนที่มีบารมีที่ว่ามาอยู่  แล้วไม่กลัวพวกโจร  เพราะสมัยก่อนมันมีพวกโจรเยอะ  คนที่มาอยู่ก่อนน่าแสดงว่าเป็นคนมีบารมี  มาอยู่แล้วไม่กลัวใคร  ก็จะอยู่ได้นานแล้วก็จะอยู่เป็นจุก ๆ ถ้าสามหลังก็จะอยู่ทางด้านนี้  ถ้าไปอีกหน่อยก็จะหกหลัง  ถ้าไปทางนี้อีกหน่อยก็จะแปดหลัง  เลยเรียกกันว่า บ้านสามหลัง”  ในทุกวันนี้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น